ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

วันที่โพสต์: 10 พ.ค. 2012, 9:13:15

ในชีวิตประจำวันเราอยู่กับเหตุการณ์ต่าง ๆ และมีคำถามอยู่ในใจตลอดเวลา เช่น

                               - พรุ่งนี้ฝนจะตกหรือไม่

                               - บางทีเราต้องไปทำงานวันนี้

                               - นายกอาจลาออกและยุปสภาเร็ว ๆ นี้

                               - ทีมฟุตบอลทีมใดจะได้เป็นแชมป์โลก

                               - ใครชนะเลือกตั้งในสมัยหน้า

คำว่า "ความน่าจะเป็น" หรือ "probability" เป็นวิธีการวัดความไม่แน่นอนในรูปแบบคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อโยนเหรียญ ความน่าจะเป็นของเหรียญที่จะออกหัวหรือก้อยเท่ากับ 0.5

ดังนั้นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอาณาคตเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดาได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ นักอุตุนิยมวิทยาจึงใช้หลักการของความน่าจะเป็นเข้ามาทำนาย เช่น ความน่าจะเป็นของการเกิดฝนตกใน กรุงเทพมหานคร ในวันพรุ่งนี้มีค่าเท่ากับ 0.7

ความน่าจะเป็น เป็นค่าที่อาจมีความหมายที่หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก ความน่าจะเป็น เป็นศาสตร์ที่มีความละเอียดอ่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ความน่าจะเป็นมีการกำหนดค่าเป็นเศษส่วนหรือเป็นเปอร์เซนต์หรือให้มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 เช่น ถ้านำลูกเต๋า ทอยลงบนพื้น โอกาสที่จะปรากฎหน้า 1 มีค่าเท่ากับ 1/6 หรือ 16.6 เปอร์เซนต์ ถ้าโยนเหรียญหนึ่งเหรียญ และให้ตกบนพื้น (โยนแบบยุติธรรม) โอกาสที่จะปรากฏหัวเท่ากับ 1/2 หรือ 0.5 

เราสามารถวัดหาค่าความน่าจะเป็นได้สองวิธี (บางทีเป็น 3 วิธี) ขึ้นกับสภาวะแวดล้อม

ที่มา : รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ความภาคภูมิใจของกลุ่มสาระคณิตศาสตร์

นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองการแข่งขันศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 62 ระดับเขตพื้นที่ฯ

  

ความภูมิใจของเราชาวคณิตศาสตร์

นักเรียน ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนศูนย์นครกาหลง3 แข่งขันระดับเขตพื้นที่ ในกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์

 ด้วยโปรแกรม GSP งานศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 62 ได้รางวัลเหรียญทอง

เด็กหญิงปนัดดา เกิดสมบัติ ได้รับรางวัลเหรียญทอง แข่งขันคิดเลขเร็ว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของสมาคมครูอำเภอคอนสวรรค์

เด็กหญิงศรัณยพร เมฆทวีป ได้รับรางวัลเหรียญทอง แข่งขันคิดเลขเร็ว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของสมาคมครูอำเภอคอนสวรรค์

ปีการศึกษา 2556

นักเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนศูนย์เข้าแข่งขันระดับเขตพื้นที่ 2 กิจกรรมคือ

   1. อัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ ป. 1-3  ฝึกสอนโดย  นางราตรี  ศรีษาพุทธ

    2.การสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์     ฝึกสอนโดย  นายสุวัฒนื  สิงห์ชัย